การตอบเชอร์เมอร์ หลักฐานทางการแพทย์สำหรับประสบการใกล้ตาย พิม แวน ลอมเมล
Home Page ประสบการณ์ใกล้ตาย – เรื่องเล่าล่าสุด เล่าประสบการณ์ใกล้ตายของคุณ



บทความจาก Skeptical Investigations

http://www.skepticalinvestigations.org/whoswho/vanLommel.htm

เบื้องหลัง

ในคอลัมน์ “Skeptic” ของไมเคิล เชอร์เมอร์ที่ลงในนิตยสาร Scientific American เดือนมีนาคม ค.ศ. 2003 เขาได้อ้างถึงการ

ค้นคว้าที่เคยถูกตีพิมพ์ลง เดอะ แลนซ์เซท ซึ่งเป็นนิตยสารชั้นนำด้านการแพทย์เขียนโดย พิม แวน ลอมเมลและพวก เขาได้

กล่าวว่าการค้นคว้าครั้งนั้นได้กระแทกกับความคิดที่ว่าจิตใจและสมองสามารถแยกส่วนกันได้ แต่กระนั้น นักวิจัยยังเถียงใน

ทางตรงกันข้าม และแสดงให้เห็นว่าประสบการณ์ที่เกิดขึ้นภายนอกร่างกายของคนทั้งๆ ที่เจ้าของร่างยังรับรู้ได้นั้นเกิดขึ้นในระหว่างการเสียชีวิตในโรงพยาบาลในขณะที่สมองไม่ทำงาน เจย์ อินแกรม แห่งช่องดิสคอฟเวอรี่ประเทศแคนนาดา ได้ติว่า “เขาไม่สามารถใช้การศึกษาครั้งนี้เพื่อสนับสนุนความคิดเห็นของเขาได้ดีนัก เขาควรพูดว่า ‘ผู้เขียนคิดว่ามีความลึกลับ แต่ผมเลือกที่จะตีความสิ่งที่พวกเขาค้นพบในทางที่แตกต่างออกไป’ แต่เขาไม่ได้ทำเช่นนั้น ข้าพเจ้าผิดหวังในเรื่องนี้มาก” (โทรอนโท สตาร์, 16 มีนาคม 2003) แต่พิม แวน ลอมเมลได้แสดงหลักฐานให้เห็นว่าเชอร์เมอร์เข้าใจผิด 

การตอบเชอร์เมอร์

หลักฐานทางการแพทย์สำหรับประสบการใกล้ตาย

ดร. พิม แวน ลอมเมล 

เมื่อไม่นานมานี้เอง มีใครคนหนึ่งเอาบทความเรื่อง “Skeptic” เขียนโดยไมเคิล เชอร์เมอร์มาให้ดิฉันดู ในความคิดเห็นของดิฉันแล้ว สำหรับการที่ได้ลงบทความในนิตยสารวิทยาศาสตร์ที่ชื่อว่า Scientific American นั้น ฉันคงคาดหวังว่ามันจะเป็นบทความที่ดีเยี่ยมทางวิทยาศาสตร์ และฉันก็ไม่รู้ว่าก่อนที่จะตีพิมพ์นั้น บทความของเชอร์เมอร์ได้ถูกแก้ไขจากทีมงานที่ดีแล้วหรือยัง เหตุที่ดิฉันมีความรู้สึกไม่ดีต่อบทความของเชอร์เมอร์ก็เพราะว่าดิฉันเป็นผู้เขียนหลักของการวิจัยที่ได้ลงในนิตยสาร เดอะ แลนเซ็ท เดือนธันวาคม 2001 ซึ่งมีชื่อบทความว่า “ประสบการณ์ใกล้ตายของผู้ที่เป็นโรคหัวใจ: จากการศึกษาในประเทศเนเธอร์แลนด์” สิ่งที่เขาได้เขียนเกี่ยวกับบทสรุปของเราและเกี่ยวกับผลกระทบของการกระตุ้นทางแม่เหล็กและไฟฟ้าของสมองนั้น เป็นสิ่งที่บังคับให้ดิฉันออกมาเขียนบทความนี้เพราะฉันไม่เห็นด้วยกับทฤษฏีและบทสรุปของเขา 

เราได้ศึกษาผู้ที่รอดพ้นจากการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ 344 คนเพื่อศึกษาถึงความถี่ซึ่งเป็นสาเหตุและเรื่องราวของประสบการณ์ใกล้ตาย ประสบการณ์ใกล้ตายคือเป็นความทรงจำในความรู้สึกต่างๆ ที่นำมาเล่า ซึ่งความรู้สึกเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีความรู้สึกตัวในระดับหนึ่ง และรวมถึงส่วนประกอบต่างๆ เช่นการประสบกับสภาพที่ว่าวิญญาณอยู่นอกร่างของตน, ความรู้สึกที่ดี, และการได้เห็นอุโมงค์ แสงไฟ หรือญาติมิตรที่เสียชีวิตแล้ว หรือการได้เห็นชีวิตที่ผ่านมาของตน ในการศึกษาของเราพบว่าผู้ป่วย 282 คน (ร้อยละ 82) ไม่มีความทรางจำเดี่ยวกับช่วงที่ตนไม่มีความรู้สึกตัว อย่างไรก็ตามผู้ป่วย 62 คน (ร้อยละ 18) ได้เล่าถึงประสบการณ์ใกล้ตายซึ่งมีส่วนประกอบต่างๆ ข้างต้น ระหว่างผู้ป่วยสองกลุ่มนี้ ไม่มีความแตกต่างในระยะของเวลาในการหัวใจวายหรือการไม่รู้สึกตัว, การรับยา, การกลัวตายก่อนที่จะเกิดหัวใจล้มเหลว, และพวกเขาไม่มีข้อกำหนดเรื่องเพศ, ศาสนา, การศึกษา หรือความรู้ที่เคยมีเกี่ยวกับประสบการณ์ใกล้ตาย ประสบการณ์ใกล้ตายส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับคนที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี, มีการเกิดขึ้นกับคนไข้มากกว่า 1 ราย ที่ได้รับ CPR เมื่อพักในโรงพยาบาล, และการมีประสบการณ์ใกล้ตายก่อนหน้านี้ ผู้ป่วยที่มีความจำเสื่อมหลังการได้รับ CPR เป็นเวลายาวนาน เล่าว่าไม่ค่อยได้มีประสบการณ์ใกล้ตายถี่นัก 

มีหลายทฤษฏีที่สามารถอธิบายถึงสาเหตุและเรื่องราวในการมีประสบการณ์ใกล้ตาย คำอธิบายทางด้านสรีรศาสตร์คือ ประสบการณ์ใกล้ตายเกิดขึ้นจากสมองขัดข้อง ซึ่งก็สามารถเกิดขึ้นจากการปล่อยเอ็นโดมอร์ฟีน หรือการปิดกั้น NMDA 

ในการศึกษาของเรา ผู้ป่วยทุกคนหัวใจล้มเหลว พวกเขาเสียชีวิต, ไม่รู้สึกตัว, ซึ่งสาเหตุเกิดจากมีโลหิตไปหล่อเลี้ยงสมองไม่ทันเพราะการหมุนเวียนของโลหิตไม่เพียงพอ, มีการหายใจไม่ทัน หรือก็เกิดอาการทั้งสองอย่าง ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้และไม่ได้เริ่มทำ CPR ภายใน 5-10 นาที สมองจะได้รับการกระทบกระเทือนแบบแก้ไม่ได้และผู้ป่วยจะเสียชีวิต ตามทฤษฏีนี้แล้ว ผู้ป่วยที่เราศึกษาทุกคนควรจะต้องได้มีประสบการณ์ใกล้ตายเพราะพวกเขาถือว่าเสียชีวิตแล้วเนื่องมาจากการล้มเหลวของสมองซึ่งเกิดจากการหมุนเวียนของเลือดอย่างไม่เพียงพอ แต่ผู้ป่วยเพียงร้อยละ 18 เท่านั้นที่มีประสบการณ์ใกล้ตาย 

คำอธิบายทางจิตศาสตร์ : ประสบการณ์ใกล้ตายเกิดจากการกลัวตาย แต่ในการศึกษาของเรามีผู้ป่วยเพียงไม่กี่เปอร์เซนต์ที่บอกว่ารู้สึกกลัวในวินาทีหลังจากการล้มเหลวของหัวใจ เพราะมันเกิดขึ้นอย่างฉับพลันเสียจนไม่ได้รู้ตัวว่าเกิดอะไรขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยร้อยละ 18 ได้บอกว่ามีประสบการณ์ใกล้ตาย และก็บอกด้วยว่ายาที่ได้รับนั้นไม่ได้ช่วยอะไรเลย 

เรารู้ว่าผู้ป่วยที่หัวใจล้มเหลวนั้นจะไม่รู้สึกตัว แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเครื่อง EEG จะเป็นเส้นตรงในผู้ป่วยดังกล่าว และเราจะสามารถศึกษาจุดนี้ได้อย่างไร 

การที่เลือดหยุดไหลเวียนในสมองโดยสิ้นเชิงนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อหัวใจล้มเหลวอันเนื่องมาจากการไม่ทำงานของหัวใจส่วนล่าง (VF) ในช่วงใกล้เสียชีวิต รูปแบบดังกล่าวมานี้อาจถูกใช้เพื่อศึกษาผลของการล้มเหลวของสมอง 

การล้มเหลวของหัวใจส่วนล่างนั้น จะทำให้เกิดหัวใจล้มเหลวและเลือดจะหยุดหมุนเวียนโดยสิ้นเชิง Vmca ซึ่งเป็นเส้นเลือดที่ไหลเวียนผ่านกลางหัวใจและมีความสำคัญมากนั้นจะลดลงถึง 0 ซม./วินาที ทันทีที่มีอาการของหัวใจส่วนล่างล้มเหลว ในการศึกษามนุษย์หลายๆ คน และรวมถึงแบบจำลองของสัตว์ต่างๆ การทำงานของหัวใจนั้นล้มเหลวอย่างสาหัสและไฟฟ้าที่อยู่ในโครงสร้างของสมองนั้นจะหยุดทำงานชั่วขณะ การได้เห็นกิจกรรมไฟฟ้าของสมอง หรือ EEG นั้นได้แสดงให้เห็นถึงคลื่นที่สูงและช้าสลับกันใ การที่คลื่น EEG ช้าลงนั้นแสดงถึงการล้มเหลวของหัวใจ การเปลี่ยนแปลงในคลื่นที่ปรากฏบนจอนั้นมักจะอยู่ที่ 6.5 วินาทีหลังการหยุดไหลเวียนของเลือด 

ถ้าหัวใจหยุดเต้นนานกว่า 37 วินาที กิจกรรมคลื่นไฟฟ้าของเครื่อง EEG อาจไม่ทำงานเป็นเวลาหลายนาทีหรือหลายชั่วโมงหลังจากการปั๊มหัวใจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในช่วงที่หัวใจหยุดเต้น แม้จะมีการคงไว้ซึ่งระดับเลือดอย่างเพียงพอในช่วงพักฟื้นก็ตาม หลังการกระตุ้นช่วงกลางของหัวใจ การไหลเวียนก็จะเกิดขึ้นภายใน 1-5 วินาที ไม่ว่าหัวใจจะล้มเหลวนานเท่าใดก็ตาม อย่างไรก็ตาม การที่จะให้ EGG นั้นทำงานได้เหมือนเดิมต้องใช้เวลามาก ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการหยุดเต้นของหัวใจ การคืนตัวของ EGG ทำให้สมองสามารถทำงานได้ และการนำออกซิเจนเข้าไปในร่างกายอาจถูกยับยั้งสักระยะเวลาหนึ่งหลังการซ่อมแซมการไหลเวียนของเลือด 

การหยุดเต้นของหัวใจจะทำให้เกิดการล้มเหลวของสมองภายในไม่กี่วินาที CPR ได้ถูกสร้างมาเพื่อให้แก้ไขสิ่งนี้ การเกิดอาการอนอกเซียนานเกินไปทำให้ไม่มีการไหลเวียนของโลหิตไปยังสมองมากกว่า 5-10 นาที ทำให้เกิดความพังพินาทอย่างมหันต์และทำให้เซลล์สมองตาย อาการนี้เรียกว่าสมองตาย และผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็จะเสียชีวิตเลย 

การล้มเหลวของหัวใจมักเกิดขึ้นระหว่าง 60-120 วินาที หากมีการหยุดเต้นของหัวใจที่ไม่ได้เกิดขึ้นในโรงพยาบาลมักจะมีระยะเวลา 5-10 นาที ในบางกรณีก็ 30-60 วินาทีแล้วแต่สถานที่ 

จากการศึกษาดังกล่าว เราได้รู้ว่าในการศึกษาผู้ป่วยซึ่งเสียชีวิตแล้ว (หัวใจส่วนล่างล้มเหลว) เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นโดยที่สมองไม่ทำงานและเกิดการหายใจไม่ออก อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่มีประสบการณ์ใกล้ตายเล่าว่าพวกเขารู้สึกตัวดี พวกเขาเห็นภาพในวัยเด็กจะจดจำสิ่งต่างๆ และมีความรู้สึกต่างๆ ได้ พวกเขาเล่าด้วยว่าได้ยืนอยู่นอกร่างกายตนเอง เนื่องจากมีการเล่าว่าผู้ป่วยออกมานอกร่างกายตนเองในตอนประสบเหตุการณ์ใกล้ตาย เราจึงคิดว่ามันคงเกิดขึ้นในวินาทีสุดท้ายในช่วงไร้ความรู้สึก 

ดังนั้นเราจึงต้องสรุปว่าประสบการณ์ใกล้ตายในการศึกษาของเรานั้นเกิดขึ้นในตอนที่ทุกส่วนของสมองล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เป็นเรื่องสำคัญที่จะกล่าวว่าได้มีรายงานเกี่ยวกับผู้ป่วยคนหนึ่งที่มีการใช้ EEG ในตอนผ่าตัดสมองขณะที่อุณหภูมิร่างกายเขาอยู่ที่ 10-15 องศาเซลเซียส เธอจึงถูกกระตุ้นหัวใจด้วยเครื่อง ไม่มีเลือดอยู่ในสมองเธอเลยและผล EEG ก็เป็นเส้นตรง แพทย์ติดตั้งอุปกรณ์ที่ทำเสียงคลิกในหูและปิดตาเธอด้วยเทป และผู้ป่วยคนนี้ได้มีประสบการณ์ใกล้ตายโดยที่วิญญาณอยู่นอกร่าง ทุกรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งที่เธอประสบสามารถตรวจสอบได้ในเวลาต่อมา 

มีทฤษฎีที่ว่าการไร้ความรู้สึกตัวสามารถเกิดขึ้นได้ในตอนที่รู้สึกตัว หลักการทางการแพทย์กล่าวไว้ว่าการรู้สึกตัวเป็นผลิตภัณฑ์ของสมอง อย่างไรก็ตาม หลักการนี้ไม่ได้ถูกพิสูจน์ในเชิงวิทยาศาสตร์เลย การค้นคว้าเรื่องประสบการณ์ใกล้ตายผลักดันให้มีขอบเขตทางด้านหลักการทางการแพทย์เกี่ยวกับระดับความรู้สึกตัวของมนุษย์และความสัมพันธ์ระหว่างการรู้สึกตัวกับความทรงจำของสมอง 

เป็นเวลาหลายทศวรรตแล้วที่มีการค้นคว้าเพื่อรับรู้เกี่ยวกับความทรงจำในสมอง แต่ไร้ความสำเร็จ ในการเกี่ยวข้องกับสมมุติฐานที่ว่าการรู้สึกตัวและความทรงจำนั้นถูกเก็บไว้ในสมอง ยังมีคำถามว่ากิจกรรมที่ไม่เกี่ยวกับวัตถุ เช่นการเพ่งเล็งหรือการคิดนั้น สามารถสอดคล้องกับการกระทำที่มองเห็นได้ในรูปแบบของกิจกรรมทางไฟฟ้าและเคมีในที่ใดที่หนึ่งในสมองได้อย่างไร กิจกรรมทางสมองต่างๆ นั้นสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบของกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างไร สิ่งนี้ถูกแสดงใน EEG, MEG ในปัจจุปันโดยผ่าน MRI และ PET scan

เซลล์ร่างกายส่วนใหญ่ โดยเฉพาะนิวรอนนั้น แสดงถึงศักยภาพทางไฟฟ้าต่อเนื้อเยื่อเซลล์ที่ถูกสร้างขึ้นมา การส่งผ่านข้อมูลไปทางนิวรอนเกิดขึ้นเพราะศักยภาพในการกระทำ

ตอนนี้เราควรพูดถึงผลกระทบของกิจกรรมทางไฟฟ้าและแม่เหล็ก เมื่อสมองทำงานโดยปกติ 

ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับประสาทโดยการใช้ TMS ในตอนที่มีการผลิดโฟตอน TMS สามารถกระตุ้นหรือเข้าไปอยู่ในส่วนต่างๆ ของสมอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณของออกซิเจนที่ได้รับ TMS เป็นอุปกรณ์ทางการค้นคว้าที่ใช้ในการศึกษาสมองของมนุษย์ในทุกๆ ด้านและมันยังสามารถใช้ในการทำการบำบัดด้วย ในการศึกษาต่างๆ TMS สามารถรบกวนการรับรู้ทางสายตาและการเคลื่อนไหว อีกทั้ง TMS สามารถเปลี่ยนการใช้งานของสมองในช่วงถูกกระตุ้นได้ด้วย แต่มันไม่มีผลกระทบระยะยาวใดๆ 

การรบกวนการทำงานของเครือข่ายนิวรอนในสส่วนของสมองก็เป็นการรบกวนการทำงานตามปกติของสมอง W.Penfield บอกว่าเคยนึกถึงฉากสั้นๆ ของชีวิตได้ (แต่ไม่ได้เห็นชีวิตในอดีตทั้งหมด) เขาได้ยินเสียง เห็นแสงและล่องลอยเหนือร่างตนเอง ประสบการณ์เหล่านี้ไม่ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หลังจากศึกษามาหลายปี เขาก็สามารถสรุปได้ว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะนึกถึงความทรงจำที่อยู่ภายในสมอง 

ผลของการกระทบทางแม่เหล็กหรือไฟฟ้าภายนอกนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณของพลังงานที่ได้รับ บางทีอาจไม่มีผลกระทบทางการแพทย์หรือบางทีอาจมองเห็นการกระตุ้นเมื่อได้รับพลังงานเพียงน้อยนิด ตัวอย่างเช่น เมื่อส่วนหนึ่งของสมองถูกกระตุ้นโดย TMS มันไม่ได้ทำให้ทำงานได้ดีขึ้นเลย แต่มันทำให้สมองส่วนนั้นๆ ทำงานไม่ได้เลย เราต้องสรุปว่าการกระตุ้นด้วยโฟตอนนั้นรบกวนเครือข่ายนิวรอนของเราซึ่งมีผลไม่ดีต่อการทำงานตามปกติของสมอง 

ในการพยายามที่จะเข้าใจหลักการของปฏิกิริยาระหว่างความรู้สึกตัวที่ “มองไม่เห็นและวัดไม่ได้” นี้ มันจึงเป็นการฉลาดที่จะเปรียบเทียบกับการสื่อสารในโลกปัจจุบัน 

ทุกวันนี้ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยการใช้สนามไฟฟ้าและแม่เหล็ก (โฟตอนแท้ๆ) สำหรับวิทยุ โทรทัศน์ มือถือ หรือโน๊ตบุ๊ค เราไม่ได้รับรู้ถึงปริมาณของสนามไฟฟ้าและแม่เหล็กซึ่งแล่นอยู่รอบตัวเรา ในตัวเรา และในโครงสร้างต่างๆ เช่นผนังและอาคารต่างๆ ตลอดเวลาไม่ว่าจะกลางวันหรือกลางคืน เราจะรับรู้ถึงมันก็ต่อเมื่อเราใช้มือถือของเราหรือไม่ก็เปิดวิทยุ โทรทัศน์ หรือโน๊ตบุ๊ค สิ่งที่เราได้รับไม่ใช่ด้านในของอุปกรณ์นั้นๆ หรือในส่วนประกอบของมัน แต่ต้องขอบคุณตัวรับที่ทำให้ข้อมูลจากสนามไฟฟ้าและแม่เหล็กนั้นมาสู่ประสาทของเราได้ เสียงที่เราได้ยินในโทรศัพท์นั้นไม่ได้อยู่ในโทรศัพท์ คอนเสิร์ตที่ได้ยินทางวิทยุก็ถูกส่งมาในวิทยุของเรา ภาพและเสียงที่เราได้ยินในโทรทัศน์นั้นก็ถูกส่งผ่านมมายังโทรทัศน์ของเรา อินเตอร์เน็ตไม่ได้อยู่ในโน๊ตบุ๊คของเรา เราสามารถรับข้อมูลได้ทันทีเลยเพราะมีความเร็วแสงช่วย และถ้าเราปิดโทรทัศน์ การรับข้อมูลก็หายไปแต่ก็ยังมีการส่งมาเรื่อยๆ ข้อมูลที่ส่งมายังอยู่ภายในสนามไฟฟ้าและแม่เหล็ก การเชื่อมต่อถูกรบกวนแต่มันไม่ได้หายไป มันยังสามารถถูกรับได้ในโทรทัศน์เครื่องอื่น เราไม่รู้สึกถึงสนามไฟฟ้าและแม่เหล็กที่ผ่านไปมาในตัวเราหรือในเครื่องใช้ของเรา 

สมองของเราสามารถเปรียบเทียบได้กับโทรทัศน์ที่ซึ่งคลื่นไฟฟ้าและแม่เหล็กรับและส่งข้อมูลให้เป็นภาพและเสียง การส่งกระแสไฟฟ้าและแม่เหล็กนี้กักเก็บข้อมูลทั้งหมด แต่ประสาทของเราสามารถรับรู้ได้เมื่อมีอุปกรณ์ที่เหมาะสม เช่น กล้องหรือโทรทัศน์ 

สนามข้อมูลของตัวเราเมื่อมีการรู้สึกตัวและเมื่อมีความทรงจำก็ทำงานเหมือนข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเอง ดังนั้นเราจึงต้องการสมองที่ใช้งานได้เพื่อรับรู้สิ่งต่างๆ เมื่อเรารู้สึกตัว ทันใดที่สมองสูญเสียการทำงาน เช่นในขณะเสียชีวิตหรือหมดสติ ความทรงจำและความรู้สึกตัวก็ยังคงมีอยู่ และความสามารถในการรับนั้นหายไป คนเราสามารถรู้ตัวว่าอยู่นอกร่างกายตนเอง พร้อมมีความเป็นไปได้ว่าล่องลอยเหนือร่างตนเองอย่างรู้สึกตัวทุกประการ พวกเขายังสามารถรับรู้ว่าอดีต ปัจจุบัน และอนาคตนั้นเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน โดยไร้เวลาและขอบเขต และยังสามารถรู้สึกได้เมื่อใส่ใจมัน (เช่น เรื่องราวในอดีต) และบางทีพวกเขายังสามารถติดต่อได้กับญาติมิตรที่เสียชีวิตไปแล้ว และหลังจากนั้นพวกเขาก็รับรู้ว่าร่างของตนเริ่มมีความรู้สึกตัว 

ไมเคิล เชอร์เมอร์ กล่าวว่า ในชีวิตจริงประสบการณ์ทุกอย่างถูกผลิตโดยสมองและการปรากฏนอกร่างตนเองนั้นเป็นเพียงเหตุการณ์ทางนิวรอน อย่างไรก็ตาม การศึกษาผู้ป่วยที่เคยมีประสบการณ์ใกล้ตายแสดงให้เราเห็นอย่างชัดเจนว่าได้มีการรู้สึกตัวและรู้สึกถึงอารมณ์ต่างๆ เมื่อล่องลอยนอกร่างตนเอง เมื่อสมองไม่ทำงาน 

นี่คำพูดของไมเคิล เชอร์เมอร์ : เป็นหน้าที่ของวิทยาศาสตร์ที่จะแก้ข้อสงสัยต่างๆ ด้วยคำอธิบายทางธรรมชาติและไม่ใช่คำอธิบายทางไสยศาสตร์ แต่เราต้องรู้ถึงความคืบหน้าของวิทยาศาสตร์และต้องศึกษาวรรณคดียุคปัจจุบัน เพื่อที่จะได้รู้ว่าวิทยาศาสตร์ปัจจุบันไปถึงไหนแล้ว สำหรับข้าพเจ้าวิทยาศาสตร์คือการถามคำถามอย่างใจกว้างและไม่กลัวที่จะคิดใหม่และยอมรับแนวคิดที่ว่าความรู้สึกตัวและความทรงจำเป็นผลิตภัณฑ์ของสมอง เพราะคนส่วนใหญ่ยอมรับแม้ไม่มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ก็ตาม แต่เราก็ต้องตระหนักว่าเราต้องใช้สมองที่ทำงานได้เพื่อทำให้เรารู้สึกตัว ยังมีข้อสงสัยอีกหลายอย่างที่ต้องค้นหาคำตอบ แต่เราไม่เห็นต้องพูดถึงเรื่องเกินจริงหรือไสยศาสตร์เพื่อที่จะค้นหาคำตอบทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความรับรู้และความทรงจำกับสมอง 

ไมเคิล เชอร์เมอร์ “สมองที่ถูกสิงห์โดยปีศาจ” Scientific American หน้า 25, มีนาคม ค.ศ. 2003

 

References
1 Van Lommel W., Van Wees R., Meyers V., Elfferich I. Near-death experience in survivors of cardiac arrest: a prospective study in the Netherlands. The Lancet 2001; 358: 2039-2045.
2 Gopalan KT, Lee J, Ikeda S, Burch CM. Cerebral blood flow velocity during repeatedly induced ventricular fibrillation. J. Clin. Anesth. 1999 Jun; 11 (4): 290-5.
3 De Vries JW, Bakker PFA, Visser GH, Diephuis JC, Van Huffelen AC Changes in cerebral oxygen uptake and cerebral electrical activity during defibrillation threshold testing. Anesth. Analg. 1998; 87: 16-20
4 Clute H, Levy WJ. Elecroencephalographic changes during brief cardiac arrest in humans. Anesthesiology 1990; 73 : 821-825
5 Losasso TJ, Muzzi DA, Meyer FB, Sharbrough FW. Electroencephalographic monitoring of cerebral function during asystole and successful cardiopulmonary resuscitation. Anesth. Analg. 1992; 75: 1021-4.
6 Parnia S, Fenwick P. Near death experiences in cardiac arrest: visions of a dying brain or visions of a new science of consciousness. Review article. Resuscitation 2002; 52: 5-11
7 Smith DS, Levy W, Maris M, Chance B Reperfusion hyperoxia in brain after circulatory arrest in humans . Anesthesiology 1990; 73 : 12-19
8 Sabom M.B. Light and Death: One Doctors Fascinating Account of Near-Death Experiences. “The Case of Pam Reynolds” in chapter 3: Death: the Final Frontier, (37-52). Zondervan Publishing House, Grand Rapids, Michigan, USA. 1998.
9 Desmedt J.E., Robertson D. Differential enhancement of early and late components of the cerebral somatosensory evoked potentials during forced-paced cognitive tasks in man. Journal of Physiology 1977; 271: 761-782.
10 Roland P.E., Friberg L. Localization in cortical areas activated by thinking. Journal of Neurophysiology 1985; 53: 1219-1243.
11 Eccles J.C. The effect of silent thinking on the cerebral cortex. Truth Journal, International Interdisciplinary Journal of Christian Thought. 1988; Vol 2.
12 Roland P.E. Somatotopical tuning of postcentral gyrus during focal attention in man. A regional cerebral blood flow study. Journal of Neurophysiology 1981; 46: 744-754.
13 Libet B. Subjective antedating of a sensory experience and mind-brain theories: Reply to Honderich (1984). Journal of Theoretical Biology 1985; 144: 563-570.
14 Hallett M. Transcranial magnetic stimulation and the human brain. Nature 2000; 406: 147-150.
15 Penfield W. The Excitable Cortex in Conscious Man. Liverpool: Liverpool University Press, 1958.
16 Penfield W. The Mystery of the Mind. Princeton University Press, Princeton. 1975
17 Blanke O., Ortigue S., Landis Th., Seeck M. Stimulating illusory own-body perceptions. The part of the brain that can induce out-of-body experiences has been located. Nature 2002, 419: 269-270.
18 Romijn, H. Are virtual photons the elementary carriers of consciousness? Journal of Consciousness Studies, 2002; 9: 61-81.